พระอาจารย์พงษ์ศักดิ์ เตชะธัมโม
สถานปฏิบัติธรรมถ้ำตุ๊ปู่
ต.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
คำปราศรัยของ
พระอาจารย์พงษ์ศักดิ์ เตชะธัมโม
เนื่องในโอกาสรับถวายใบประกาศเกียรติคุณ
“Global 500 Roll of Honour”
ในงานวันสิ่งแวดล้อมโลก
5 มิถุนายน 2533
ที่ประเทศเม็กซิโก
“นับเป็นนิมิตหมายอันดียิ่ง ที่สหประชาชาติ
ได้ให้ความสำคัญอย่างสูงในเรื่องสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะในเรื่อง “ป่าไม้”
ความอยู่รอดของชีวิตทุกชีวิต แท้จริง
ขึ้นกับความดำรงอยู่ของ “ป่าไม้”
ที่เป็นเช่นนี้เพราะป่าไม้เป็นตัวสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้ผืนแผ่นดินเป็นปัจจัยควบคุมให้เกิดความสมดุลของดินฟ้าอากาศเป็นตัวสร้างความชุ่มชื้น และทำให้ฝนตกตามฤดูกาล อีกทั้งเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิและสภาพอากาศของโลกให้อยูในภาวะปกติ”
พระอาจารย์พงษ์ศักดิ์ เตชะธัมโม
ชาตะ 20 กรกฎาคม 2475
มรณภาพ 23 กันยายน 2558
สิริรวมอายุ 83 ปี
สถานปฏิบัติธรรมถ้ำตุ๊ปู่
ต.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
“ด้วยจิตสำนึกที่ว่าป่าไม้
เป็นชีวิตของแผ่นดินและชีวิตของโลก
และป่าไม้ที่เป็นชีวิตของแผ่นดินและชีวิตของโลก
ก็คือธรรมะของแผ่นดิน เป็นธรรมะของโลก”
พิธีประชุมเพลิง
พระอาจารย์พงษ์ศักดิ์ เตชะธัมโม
ณ สถานปฏิบัติธรรมถ้ำตุ๊ปู่
ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2558
พิธีเก็บอัฐิธาตุ
พระอาจารย์พงษ์ศักดิ์ เตชธัมโม
วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2558
ณ สถานปฏิบัติธรรมถ้ำตุ๊ปู่
ต.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
โดยคณะพระภิกษุได้ทำการแบ่งเป็น ๕ ส่วน
เพื่อนำไปโปรยคืนสู่ธรรมชาติป่าเขา ลำธาร
ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระอาจารย์
“ชีวิตของเรามีธรรมชาติอยู่ ๒ ส่วนคือ
ธรรมชาติฝ่ายกายกับธรรมชาติฝ่ายจิต
ธรรมชาติฝ่ายกายหมายถึงรูปธรรมหรือวัตถุ
จะต้องมีสิ่งหล่อเลี้ยง เช่น ปัจจัย ๔ และสิ่งที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติหน้าที่
เราไม่สามารถที่จะแยกชีวิตในส่วนกายที่เป็นรูปธรรมกับวัตถุว่า
เป็นคนละเรื่อง คนละสิ่งคนละอย่าง จริง ๆแล้วเป็นธรรมฝ่ายเดียวกัน
ส่วนธรรมชาติฝ่ายจิตทำหน้าที่รู้สึกนึกคิดและต้องการ
จิตของเราเองก็ดี ของชุมชน ของสังคม หรือของสัตว์ทุกประเภท
ล้วนแต่ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน
ธรรมชาติฝ่ายรูปธรรมก็ทำหน้าที่ไปตามกฎของธรรมชาติฝ่ายรูปธรรม
ธรรมชาติฝ่ายจิตก็ทำหน้าที่ไปตามกฎของธรรมชาติฝ่ายจิต
เราไม่สามารถแยกกันได้
ธรรมชาติฝ่ายรูปธรรมก็ปรุงแต่งตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติฝ่ายรูปธรรม
ธรรมชาติฝ่ายนามธรรมก็ปรุงแต่งตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติฝ่ายนามธรรม
ถ้าเราเข้าใจอย่างนี้แล้ว ความรู้สึก จิตสำนึก
และแนวความคิดที่เป็นธรรมก็จะเริ่มปรากฏขึ้น
มันอยู่ตรงนี้เอง โลกีย์กับธรรม มันแบ่งกันอยู่ที่ความรู้สึก
ไม่ได้เกิดขึ้นที่อื่น ไม่ได้อยู่ที่สิ่งอื่น.....”
อริยมรรคอันมีองค์ 8 ศีลที่เป็นกลาง จิตที่ทำให้เกิดศีลที่เป็นกลาง
จิตที่ทำให้เกิดสมาธิที่เป็นกลาง จิตทำหน้าที่ให้เกิดปัญญา
ปฐมนิเทศ แนะนำการปฏิบัติอานาปานสติ ความหมายของกรรมฐาน สมาธิ - วิปัสสนา
วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา ในฌาน
การปฏิบัติจากรูปฌาน สู่ อรูปฌาน สนทนาภาวะในสมาธิ สรุประดับของการปฏิบัติธรรม
ซักถามภาวะต่าง ๆของการเจริญสมาธิ
สังโยชน์ ระดับจิตที่เหนือกรรม และการละสังโยชน์
การละสังโยชน์ และสรุปขั้นตอนการปฏิบัติ 4 ขั้น สรุปอิทธิบาทภาวนา
ความหมายของธรรม ธรรมชาติของชีวิต กาย - จิต
หลักธรรมที่เป็นพื้นฐาน รู้คุณ รู้โทษ รู้คุณค่าความหมาย
ศีลธรรมเกิดมาจาก รู้ธรรมชาติของชีวิต
ทุกสิ่งเป็นไปตามเหตุปัจจัย รักษาจิต คือรักษาธรรม
การทดสอบสัมมาทิฏฐิ ทบทวนประวัติพุทธศาสนา
โอวาทสำหรับคู่บ่าวสาว ชีวิตเดี่ยว ชีวิตคู่ ความหมายของอิทธิบาท
ค่ายปฏิบัติธรรม
ธรรมสถาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จัดปีละครั้งในช่วงระหว่างเดือนเมษายน ในคลิปวีดิโอนี้ อยู่ในปี พ.ศ.2530 และ 2531 ณ สถานปฏิบัติธรรมถ้ำตุ๊ปู่ ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ นำการฝึกฝนปฏิบัติโดย พระอาจารย์พงษ์ศักดิ์ เตชะธัมโม
เป็นการปฏิบัติธรรมท่ามกลางธรรมชาติป่าเขา ลำธาร ที่เป็นบรรยากาศเกื้อกูลต่อชีวิตส่วนกายและชีวิตส่วนจิต สงบร่มเย็น ช่วยให้การฝึกฝนปฏิบัติเป็นไปด้วยดี พร้อมทั้งท่านพระอาจารย์ได้บรรยายธรรมชี้แนะนำในส่วนของการปฏิบัติทางจิตอย่างตรงประเด็น และตอบคำถามอย่างชัดเจนตรงไปตรงมา