



นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ
ศาสนธรรม ศาสนบุคคล ศาสนพิธี ศาสนวัตถุ
ล้วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
ผู้รู้จึงรู้จักใช้ประโยชน์แห่งความสัมพันธ์นั้น
เพื่อความเกื้อกูลพัฒนาเจริญงอกงามในธรรม
จึงชื่อว่า รู้จักใช้ประโยชน์จากธรรม
ทั้งในฝ่ายรูปธรรมและนามธรรม
ความสำเร็จของการสร้างพระใหญ่ พระพุทธเจ้า 28 พระองค์
มิได้อยู่ที่การได้พระพุทธรูปซึ่งถือเป็นอุเทสิกเจดีย์เท่านั้น
แต่ที่มีความสำคัญยิ่งกว่าคือ กระบวนการสร้างต่างหาก
ที่ได้รวมศูนย์จิตใจของผู้คนที่มีศรัทธาให้มารวมกัน
แล้วก่อเกิดปัญญา ความรู้ ความเข้าใจ และความสำนึกร่วม
ในความสำคัญของการอุบัติขึ้นของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พร้อมทั้งพระธรรมที่ทรงตรัสสั่งสอนเวไนยสัตว์
จนมีผู้บรรลุพระสัทธรรมเป็นพระอริยบุคคลได้
...นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ...



จากนี้ไปจักเป็นตำนานที่เล่าขาน
ถึงกลุ่มคนผู้มีศรัทธาพร้อมด้วยปัญญา
ที่จักสร้างพระพุทธรูปใหญ่ให้ได้ 28 พระองค์
เพื่อบูชาพระคุณของพระพุทธองค์
ผู้ทรงพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ
นับจากบัดนี้เป็นต้นไปสิ่งที่กลุ่มคนเหล่านี้ได้กระทำลงไป
ด้วยกุศลเจตนาอันแรงกล้าแล้วนั้น
จักเป็นพลวปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย อารัมณปัจจัย
ให้เป็นฐานพลังอันมิรู้จบสิ้นใน
กำลังทรัพย์ กำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา
กำลังความสามารถ กำลังแห่งความดี
ตราบจนบรรลุซึ่ง มรรค ผล และนิพพาน ในที่สุด
โดยมิต้องสงสัยเป็นแน่แท้....ตำนานคนสร้างพระ
กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมตัวกันสร้างพระใหญ่
ใช้ชื่อกลุ่ม "คนสร้างพระ พระพุทธเจ้า 28 พระองค์"
มีกุศลเจตนาจักสร้างพระใหญ่ให้ได้ 28 พระองค์
มาบัดนี้
ได้มีดำริร่วมกันว่าพระพุทธรูปหน้าตัก 10 ศอก 7 องค์
ที่จะครบ 28 พระองค์นั้น
จะประดิษฐานที่สถานปฏิบัติธรรม
ที่จะช่วยกันสร้างและพัฒนาขึ้นมา
และได้รวบรวมปัจจัยทุนทรัพย์ซื้อที่ดินได้ประมาณ 30 ไร่
ที่ ตำบลเลาขวัญ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี
จึงเป็นที่มาของชื่อสถานปฏิบัติธรรม
"พุทธสถาน พระพุทธเจ้า 7 พระองค์"
และในลำดับต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น
"พุทธอุทยานสมเด็จองค์ปฐม"

.jpg)
.jpg)
ตำนานคนสร้างพระ
ตำนานคนสร้างพระ


63 07 11 ตำนานคนสร้างพระ องค์ที่ 1 - 21

59 12 08 การสร้างฐานโพธิรัตนบัลลังก์

59 12 31 การพ่นปูนผสมสูตรพิเศษเพื่อการสร้างองค์พระ
ประวัติอันเป็นตำนานการสร้างพระใหญ่
องค์ที่ 1
14 พฤษภาคม 2543
สมเด็จพระพุทธตัณหังกร
(ผู้กล้าหาญ)
วัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน ต.สิงห์ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
องค์ที่ 2
13 เมษายน 2544
สมเด็จพระพุทธเมธังกร
(ผู้มียศใหญ่)
วัดบ้านทวน ต.พนมทวน อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี
องค์ที่ 3
25 พฤศจิกายน 2544
สมเด็จพระพุทธสรณังกร
(ผู้เกื้อกูลแก่โลก)
วัดบึงลี ต.โพธิ์ไทรงาม อ.โพทะเล จ.พิจิตร
องค์ที่ 4
13 เมษายน 2545
สมเด็จพระพุทธทีปังกร
(ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง)
วัดเจ็ดคตทรัพย์เจริญธรรม ต.ชะอม อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
องค์ที่ 5
11 สิงหาคม 2545
สมเด็จพระพุทธพระโกณฑัญญะ
(ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน)
วัดบัณฑูรสิงห์ (วัดบางโทรัด) ต.บางโทรัด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
องค์ที่ 6
1 ธันวาคม 2547
สมเด็จพระพุทธพระสุมังคละ
(ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ)
ธุดงคสถานชั้นยอด ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
องค์ที่ 7
26 พฤศจิกายน 2548
สมเด็จพระพุทธสุมนะ
(ผู้เป็นธีรบุรุษมีพระหทัยงาม)
วัดเขากงกาง ต.หัวเขา อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี
องค์ที่ 8
18 มีนาคม 2549
สมเด็จพระพุทธเรวตะ
(ผู้เพิ่มพูนความยินดี)
วัดป่าหินเพิง ต.หินดาด อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
องค์ที่ 9
2 ธันวาคม 2549
สมเด็จพระพุทธโสภิตะ
(ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ)
วัดบางน้ำวน ต.บางโทรัด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
องค์ที่ 10
15 กรกฎาคม 2549
สมเด็จพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า
(ผู้อุดมสูงสุดในหมู่ชน)
วัดป่าไขแสงธรรมาราม ต.หน้าไม้ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
องค์ที่ 11
5 เมษายน 2550
สมเด็จพระพุทธเจ้าปทุมะ
(ผู้ทำให้โลกสว่าง)
วัดหินดาด ต.หินดาด อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
องค์ที่ 12
14 กรกฎาคม 2550
สมเด็จพระพุทธเจ้านารทะ
(ผู้เป็นสารถีป